วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ตลาดร้อยปีสามชุก (การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์)

ตลาดร้อยปีสามชุก จ.สุพรรณบุรี เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ “ขุนจำนง จีนารักษ์”
ช่วงเวลาเฟื่องฟูของตลาดสามชุกกินเวลานานหลายสิบปี แต่หลังจากที่มีการตัดถนนผ่านสามชุก ผู้คนเปลี่ยนไปใช้ถนนเป็นเส้นทางสัญจรมากขึ้น ส่งผลให้ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และการค้าที่ตลาดสามชุกเริ่มซบเซา แต่ตลาดสามชุกก็ยังคงดำเนินวิถีของตลาดห้องแถวไปอย่างต่อเนื่องด้วยความที่วิถีชีวิตและลักษณะทางกายภาพของชุมชนตลาดสามชุกมีกาลเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แม้ว่าจะผ่านกาลเวลามานับร้อยปี เหตุนี้ประชาคมชาวตลาดสามชุกจึงได้มีการปรับปรุง ฟื้นฟู และร่วมกันอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไม้ของตลาดสามชุกไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม รวมทั้งพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ตลาดสามชุกกลับมีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง
การเดินทาง
สู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก
การเดินทางโดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ เข้าถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด ข้ามสะพานพระราม 4 แยกเข้าถนนชัยพฤกษ์ วนขึ้นสะพานต่างระดับชัยพฤกษ์ ทางหลวงหมายเลข 345 สังเกตป้ายทางหลวง บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงสะพานต่างระดับบางบัวทอง แยกเข้าถนนทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี-ชัยนาท ตรงไปทางตัวเมืองสุพรรณบุรี ผ่านแยกศรีประจันต์ไปแล้ว จะเห็นแยกซ้ายมือเข้า อำเภอสามชุก
การเดินทางโดยรถประจำทาง/รถตู้
มีรถโดยสารจากกรุงเทพฯไปสุพรรณบุรี หลายเส้นทางด้วยกัน รถที่ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ มีทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ
การเดินทางโดยรถไฟ
มีรถไฟไปจังหวัดสุพรรณบุรีทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย

สถานที่จอดรถ
สามารถจอดรถได้ด้านในบริเวรเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ และด้านนอกก่อนถึงตลาดไม่ไกลมากนักโดยมีบริการที่จอดรถของเอกชนคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้
อาหาร
หมูแดดเดียวเจ๊กิมยี่
เจ้าเก่าดั้งเดิม เนื้อนุ่ม หอม อร่อยเข้มข้นกลมกล่อม ใช้เนื้อหมูคัดพิเศษอย่างดี คลุกเคล้าด้วยเครื่องปรุงอย่างพิถีพิถัน ใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพดี จำหน่ายทั้งแบบสดและทอดพร้อมรับประทาน เจ๊กิมยี่ หมูแดดเดียวของดีตลาด 100ปี สามชุก

เจ๊ตี๋ เป็ดย่าง เป็ดพะโล้ สูตรไหหลำ (เจ้าเก่า)
ร้านเจ๊ตี๋ จำหน่ายเป็ดย่าง เป็ดพะโล้ เนื้อนุ่ม หอม อร่อยเข้มข้นด้วยสูตรไหหลำแท้ พร้อมน้ำจิ้มรสเด็ดใช้ผลิตภัณฑ์สดใหม่ทุกวัน พร้อมเครื่องปรุงสมุนไพรจีนคัดพิเศษ ประกันสินค้าคุณภาพ รสชาดถูกปาก ราคาถูกใจ สินค้าผลิตเพิ่มเติมทั้งวันจึงสดใหม่และอร่อย เปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2499
นิสาลูกชิ้นยักษ์
ลูกชิ้นร้านนี้ใหญ่เท่าชามก๋วยเตี๋ยว หากมองจากด้านหน้าร้าน จะพบกับลูกชิ้นขนาดใหญ่วางเรียงอยู่ในตู้ถึง 3 ตู้ แม้ว่าร้านนิสาลูกชิ้นหมูยักษ์จะเป็นตึกแถวไม่ใหญ่โต แต่ก็มีป้ายบอกทางชัดเจน บวกกับชื่อเสียงที่โด่งดังทำให้ร้านนี้หาไม่ยากเมนูแนะนำ ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำ, ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก, ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส, ข้าวมันไก่, ข้าวราดแกง, เย็นตาโฟ
นอกจากจะขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมูยักษ์แล้ว ทางร้านนิสายังมีบริการรับสั่งทำลูกชิ้นตามออร์เดอร์ จำหน่ายลูกชิ้นทั้งปลีกและส่ง จุดเด่นของลูกชิ้นหมูที่คุณนิสาบอก คือลูกชิ้นหมูยักษ์นี้เป็นสูตรโบราณที่เป็นต้นตำรับ มีเจ้าแรกและเจ้าเดียว หากไม่ใช่ลูกชิ้นยักษ์ที่ตลาดสามชุกแล้ว ก็ไม่ใช่ของแท้เพราะหารับประทานไม่ได้ที่ไหน นอกจากที่นี่เท่านั้น
ของฝาก
เอี่ยมเจริญ (บ้านพิพิธภัณฑ์เล่นได้)
ของเล่นสังกะสีโบราณ (Tin Toy) โมเดลรถยนต์, โมเดลเครื่องบิน (สายการบินต่าง ๆ) และงานไม้ มีมากมายหลายรูปแบบ




ร้าน ”ไอ๊หยา” ของเล่นซอย 2
จำหน่าย ของเล่น สังกะสี ของเล่น โบราณ แสนน่ารัก หาซื้อได้ยาก มีทั้ง หุ่นยนต์สังกะสี หุ่นยนต์ตีกลอง มอเตอร์ไซด์สังกะสี รถยนต์สังกะสีหลายแบบ เครื่องบินสังกะสี รถไฟสังกะสี ชิงช้า ม้าหมุนสังกะสี เรือสังกะสี และอื่นๆ อีกมากมาย จำหน่ายตุ๊กตามวยไทย ซึ่งทำจากไม้กระถิน มีท่าทางหลายแบบให้เลือก อาทิเช่น ยกเขาพระสุเมรุ, จรเข้ฟาดหาง เป็นต้น อีกทั้งยังจำหน่ายกระปุกออมสินที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่และตบแต่งด้วยตุ๊กตามวยไทย ราคาไม่แพงอย่างที่คิด

สามชุกใจเย็น
ขายกุนเชียงปลากราย, กุ้งสดพริงไทยดำ, เค็ก 4 รส, สารี่ 7 รส, กาละแมโบราณ, หมี่กรอบโบราณ, หมี่กรอบสัปปะรด, แคปหมูไร้ไขมัน, ท๊อฟฟี่ถั่วตัด, ขนมเปี๊ยฉ่องเฮง และ บะจ่างรสเด็ด (ไส้เค็ม)



อรุณสวัสดิ์สามชุก
ขายเสื้อยืด, กระเป๋า, โปสการ์ด, ของเล่น และ ของสะสมสมัยก่อน

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

395ปี บันทึกของปินโต

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า (Motemor-o-velho) ใกล้เมืองกูอิงบรา (Coinbre)ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจนระหว่างค.ศ. 1509-1512 เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 12 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึแปดรา การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ขณะมีอายุได้ 28 ปี

ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรื่องอับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นทั้งกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตหรือนักสอนศาสนา ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ. 1548 ครั้งที่2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็กพระไชยราชาธิราช (ค.ศ. 1534-1546) หลักปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือ ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1 ทรงได้ทอดพระเนตรงานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชทานบำเหน็จแทนบิดา

งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้ามิได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกชาย เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของ "คนป่าเถื่อน" จุดมุ่งหมายที่จริงจังของปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากรอารมณ์ ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ

คุณค่าทางประวติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฏหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตรวรรษที่16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาทการทหารของชุมชนโปรตุเกส เรื่องราวในหนังสือ สอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคน อาทิ การกล่าวถึง โดมิงกุส ดึ ไซซัส นอกจากนี้ อี.ดับเบิ้ลยู. ฮัทชินสัน ก็อ้างตามหลักฐานของปินโตว่า "ทหารโปรตุเกสจำนวน120คนซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงเจ้าเป็นทหารรักษา พระองค์ได้สอนให้ชาวสยามรู้จักใช้ปืนใหญ่"

ความน่าเชื่อถือ
หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง งานเขียนของปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล และปินโตยังยืนยันว่าเขาได้รับจดหมายฝากฝังจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกสแห่งเมืองกัว เพื่อให้ได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระราชินีแคเธอรีนแห่งโปรตุเกส แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการอ้างอิงพยานบุคคลของเขา
หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา
ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ความสัมพันธ์ของคนระหว่างค่ายโปรตุเกสกับราชสำนักอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่ายโปรตุเกสกับมะละกา กัว มาเก๊า รวมไปถึงอาชีพ จำนวนคนและความเป็นอยู่ในค่ายโปรตุเกสสมัยอยุธยา ก็อาจต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอควร

สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปินโตมีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรมประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอนจะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่าจะมีความสมจริงตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ ข้อถกเถียงในงานของปินโตอาจจะดูมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ปราศจากคำถามและความเคลือบแคลง
งานของปินโตถูกตั้งขอสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใดฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตบ้างก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จังหวัดกระบี่

จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชน โบราณที่เก่าแก่มาก แห่งหนึ่งใน ประเทศไทย ตั้งแต่สมัย ก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ กล่าว กันว่าดินแดนนี้แต่เดิม คือเมืองบันไทยสมอ 1 ใน 12 เมือง นักษัตรที่ใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมือง ขึ้นกับ อาณาจักรนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความ หมายที่ แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณ ก่อนที่จะสร้างเมือง อันเป็นที่มาของสัญลักษณ์จังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน



เกาะพีพีดอน

มีเนื้อที่ประมาณ 28 ตร.กม. ทางเหนือของเกาะคือ แหลมตง เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเลประมาณ 15-20 ครอบครัว ส่วนใหญ่อพยพมาจากเกาะลิเป๊ะ ในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่จังหวัดสตูล บริเวณแหลมตงนี้ มีธรรมชาติใต้ทะเลสวยงามมาก เหมาะแก่การดำน้ำเช่นเดียวกันกับที่บริเวณปลายแหลมหัวระเกด หาด ยาวและหินแพ นอกจากนี้ยังมีเวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของอ่าวต้นไทร (รูปซ้ายมือ) และอ่าวโละดาลัม ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่พักจำนวนมากบริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป



เกาะพีพีเล



มีพื้นที่เพียง 6.6 กม. เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับผิวทะเล โดยรอบเกือบทั้งเกาะ มีพื้นน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร โดยมีบริเวณน้ำลึกที่สุดประมาณ 34 เมตรอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงาม อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา อ่าวโละซามะฯลฯ นอกจากนี้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือยังมีถ้ำไวกิ้ง เมื่อปี พ.ศ. 2515 สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "ถ้ำพญานาค" ตามรูปร่างหินก้อน หนึ่งที่คล้ายเศียรพญานาค อันเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านที่มาเก็บรังนกนางแอ่น บนเกาะแห่งนี้ ภาย ในถ้ำทางทิศตะวันออกและทิศใต้ พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่างๆ เช่น เรือใบยุโรป เรือใบอาหรับ เรือสำเภา เรือกำปั่น เรือใบใช้กังหัน และเรือกลไฟ เป็นต้น สันนิษฐานว่าภาพ เขียน เหล่านี้เป็นฝีมือของนักเดินเรือหรือพวกโจรสลัด เพราะจากการศึกษาเส้นทางเดินเรือจากฝั่งตะวัน ตกไปยังฝั่งตะวันออก บริเวณนี้อาจเป็นจุดที่เรือสามารถแวะพักหลบลมมรสุมขนถ่ายสินค้าหรือซ่อมแซม เรือได้

อ่าวมาหยา

เป็นการสร้างสรรค์ของธรรมชาติที่เกิดจากหน้าผาที่โอบล้อมพังทลายกลายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่เชื่อมต่อกับทะเลภายนอก น้ำทะเลไหลเวียนเข้าออกได้ดี เกาะหินปูนแห่งนี้ยังตั้งอยู่ห่างชายฝั่งหลายสิบกิโลเมตร น้ำทะเลใสช่วยให้แสงส่องผ่านในระดับเหมาะสม ตัวอ่อนของปะการังที่ล่องลอยอยู่ทั่วบริเวณพากันลงเกาะบนหินที่ทับถมอยู่กลางอ่าว เวลาผ่านไปหลายพันปี แนวปะการังขยายขนาดปกคลุมทั่วอ่าวมาหยา ในเวลาเดียวกับที่ทะเลมีการเปลี่ยนแปลง กระบวนการของธรรมชาติยังเกิดขึ้นบนชายฝั่ง ตะกอนทรายตกทับถมรวมกันกลายเป็นหาด ผลของพืชชายทะเลที่ล่องลอยมากับน้ำบ้าง มากับสัตว์ต่างๆ บ้าง เจริญงอกงามกลายเป็นป่าชายหาด กินพื้นที่ตอนในของอ่าวประมาณ ๕๐ ไร่
อ่าวมาหยา มีหาดทรายที่ขาวละเอียด น้ำทะเลที่นี่ใสมาก เหมาะสำหรับพักผ่อน เล่นน้ำ นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์อีกจุดหนึ่งของทะเลกระบี่ อยู่ห่างจากเกาะพีพีดอน 2 กิโลเมตร อยู่ห่างฝั่งกระบี่ประมาณ 45 กิโลเมตร อ่าวมาหยา เป็นอ่าวที่ซ่อนอยู่ภายใต้แนวกำบังของกำแพงผา ด้วยเพราะเหตุที่เมื่อครั้งที่เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเกาะพีพีเลจึงรอดพ้นไม่ถูกทำลายและยังคงสวยงาม